วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ยูนิจังก์ชั่นทรานซิสเตอร์(UJT)

ยูนิจังก์ชั่นทรานซิสเตอร์(Unijunction transistor : UJT)

เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ3ขาที่มีรอยต่อพีเอ็นเพียงรอยต่อเดียวยูเจทีมีขาต่อใช้งาน3ขาคือB1,B2และEดังรูป สัญลักษณ์
วงจรสมมูลของยูเจทีแสดงดังรูปเมื่อขาเปิดวงจรแรงดันV1จะถูกกำหนดโดยการแบ่งแรงดันของตัวต้านทานRB1และRB2ภายในยูเจทีซึ่งแรงดันV1นี้
มีชื่อ เรียกว่าVEOเมื่อVEB1หรือแรงดันอินพุตที่ป้อนเข้าที่ขาEสูงกว่าVEOจะทำให้ยูเจทีทำงานสามารถนำกระแสได้ยูเจทีมักนิยมนำไปใช้
ในวงจรรีแลกชั่นออสซิลเลเตอร์

ไมโครโฟนและลำโพง

ไมโครโฟนและลำโพง(Microphone,Speaker)

ไมโครโฟน จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า มีสัญลักษณ์คือ ไมโครโฟนมีหลายชนิดเช่น

  • คาร์บอน(Carbon) ใช้หลักการของตัวต้านทาน มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้ไดอะแฟรมเคลื่อนไหว แล้วเกิดแรงกดดันต่อแคปซูลที่บรรจุผงถ่านเปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าความต่านทานของแคปซูลเปลี่ยนไป กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านแคปซูลก็จะเกิดสัญญาณความถี่สูงต่ำตามสัญญาณเสียงเป็นสัดส่วนเดียวกัน
  • ไดนามิก(Dynamic) ใช้หลักการของไดนาโม มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้ไดอะแฟรมเคลื่อนที่ดันให้ขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากแม่เหล็กทรงกระบอก ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงต่ำตามสัญญาณเสียงที่ได้รับ
  • คอนเดนเซอร์(Condenser) ใช้หลักการของตัวเก็บประจุ มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้ไดอะแฟรมเคลื่อนที่ดันให้ระยะห่าง ระหว่างแผ่นโลหะเปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าความจุไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณเสียงที่ได้รับ
  • คริสตัล(Crystal) มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้แผ่นบางๆของ Piezo Electronic Material ถูกกดงอด้วยสัญญาณเสียง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ความถี่สูงต่ำตามสัญญาณเสียงที่ได้รับเป็นสัดส่วนเดียวกัน

ลำโพง เป็นเครื่องเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้กลายเป็นเสียง มีสัญลักษณ์คือ
แบบแม่เหล็ก(Magnetic)
แบบคริสตัล(Crystal)

แผงระบายความร้อน(Heatsink)

แผงระบายความร้อน(Heatsink)

คือแผงโลหะที่ใช้ติดกับทรานซิสเตอร์หรือชิปไอซี(CPU,Chip 3D)เพื่อระบายความร้อนส่วนเกินที่เกิดจากการทำงานของอุปกรณ์ไม่ให้ไหม้หรือทำลายอุปกรณ์ได้ มีลักษณะเป็นครีบโลหะ(อาจจะเป็นอลูมิเนียมหรือโลหะผสมอื่นๆ)ขนาดเท่ากับอุปกรณ์หรือใหญ่กว่า จะถูกขันน๊อตหรือล็อกไว้กับอุปกรณ์นั้นๆ

หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)

เป็นคอยด์แบบหนึ่ง ที่ใช้ขดลวด 2 ขด หรือมากกว่าพันรอบแกนเหล็กอันเดียวกัน ที่คนละด้าน มีสัญลักษณ์คือ
หม้อแปลงสามารถเปลี่ยนระดับของแรงดันหรือกระแสให้สูงหรือต่ำได้ แต่หม้อแปลงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานที่ออกมาให้มากกว่าที่ป้อนเข้าไปได้ ถ้าเราใช้หม้อแปลงเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าก็จะมีจำนวนที่ลดลง แต่ถ้าหากแรงเคลื่อนไฟฟ้าลดลง กระแสก็จะเพิ่มขึ้น หม้อแปลงมีหลายชนิดได้แก่

  • หม้อแปลงแบบแยกขด (Isolation Transformer) คือหม้อแปลงที่มีอัตราส่วนของขดลวดด้านเข้า(Primary) และด้านออก(Secondary) เป็น 1:1 ทำให้แรงเคลื่อนและกระแสที่ป้อนเข้าและไหลออกมีขนาดเท่ากัน ใช้เพื่อแยกส่วนต่างๆของวงจรออกจากกัน และป้องกันไฟดูด
  • หม้อแปลงเปลี่ยนแรงดัน(Power Conversion Transformer) คือหม้อแปลงที่ใช้ลดแรงดันไฟฟ้าจากสายส่ง เพื่อให้อยู่ในระดับที่ใช้งานได้ เช่นหม้อแปลงจ่ายไฟหรือหม้อแปลงจ่ายกำลัง
  • หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง ใช้ในการสร้างไฟฟ้าแรงดันสูง กระแสต่ำสำหรับจุดระเบิดของหัวเทียนในเครื่องยนต์เบนซิน หรือ ใช้สำหรับหลอดภาพในเครื่องรับโทรทัศน์ หลอดฟลูออเรสเซนส์, แสงเลเซอร์
  • หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กสำหรับระบบเสียง(Audio Transformer) ใช้สำหรับแปลงกระแสไฟฟ้า 220V เป็น กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ ที่จะให้พอดีกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ไมโครโฟน, ลำโพง หรือใช้เป็น Power Supply ในเครื่องคอมพิวเตอร์

รีเลย์(Relay)

รีเลย์(Relay)

คือสวิทซ์แม่เหล็กไฟฟ้า มีสัญลักษณ์คือ
มีหลักการทำงานคือ ใช้กระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยให้ไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ให้สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดึงหน้าสัมผัสข้างหนึ่งให้เข้าหาหรือหนีออกไป เพื่อเชื่อมต่อหรือตัดสัญญาณการไหลของกระแสไฟฟ้า การจัดหน้าสัมผัสของรีเลย์ทำได้หลายรูปแบบ เช่น SPST(Single Pole Single Throw),DPST(Double Pole Single Throw),SPDT(Single Pole Double Throw),DPDT(Double Pole Double Throw)

ขดลวด(Coil)

คือเส้นลวดที่นำมาพันขดเป็นวง เพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง ได้แก่

  1. พลังงานของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการส่งกระแสไฟฟ้าสลับไหลผ่านขดลวด จะสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับในขดลวดอีกอันที่อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งเป็นหลักการที่เรานำมาใช้ทำหม้อแปลง
  2. เราใช้ขดลวดมาเป็นเสาอากาศวิทยุ A.M.ในการรับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าได้
  3. ขดลวด จะทำหน้าที่หน่วงหรือต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(Rapid Change)ของสัญญาณกระแสสลับที่ไหลผ่านตัวมัน แต่จะยอมให้ไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านสะดวก
  4. ถ้าเราต่อให้ความต้านทานระหว่างขั้วทั้งสองของขดลวดมีค่าสูง ขดลวดจะเพิ่มสัญญาณริงกิ้ง Ringing เข้ากับคลื่นสี่เหลี่ยมที่ผ่านตัวมัน
  5. นอกจากนี้ เรายังใช้ขดลวดเป็นตัวกรองสัญญาณ เพื่อเลือกความถี่ให้ผ่านได้เฉพาะย่านความถี่ที่เราต้องการ
ขดลวดมีสัญลักษณ์คือ ขดลวดมีหลายชนิดได้แก่
-ขดลวดแบบปรับค่าได้ (Tuning Coil)ใช้ในการจูนหาสัญญาณคลื่นวิทยุที่ต้องการ โดยใช้ขั้วแบ่ง(Tap)ต่ออนุกรมกัน หรืออาจใช้แกนเคลื่อนที่ได้ จึงปรับค่าความต้านทานไฟสลับ(Impedance)ได้ เป็นผลให้ความถี่เรโซแนนซ์(Resonance Frequency)เปลี่ยนไป
-ขดลวดแบบสายอากาศ(Antenna Coil) ใช้ในเครื่องรับวิทยุแบบ A.M. โดยจะมีขดลวดพันอยู่บนแกนกระดาษที่หุ้มห่อแท่งเฟอร์ไร้ท์แบบแท่งกลมหรือแบบแท่งเหลี่ยมก็ได้
-โช๊ค(Choke) ใช้เพื่อจำกัดสัญญาณที่ไม่คงที่ ขณะที่ยอมให้กระแสสัญญาณที่คงที่สามารถผ่านไปได้

สวิทซ์(Switch)

สวิทซ์(Switch)

คืออุปกรณ์ทางกลไกที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือตัดสัญญาณการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ มีสัญลักษณ์คือ แป้นพิมพ์(Keyboard)ก็เป็นสวิทซ์แบบกดติดปล่อยดับแบบหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น สวิทช์เปิดปิดไฟฟ้า, สวิทช์กด , สวิทช์เลื่อน, สวิทช์หมุน

เซนเซอร์(Sensor)

เซนเซอร์(Sensor)

คือสวิทช์ที่มีความไวสูง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจจับสัญญาณความผิดปกติบางอย่างที่ได้กำหนดไว้ หรือใช้ตรวจจับลักษณะบางอย่าง เช่น
จับสัญญาณความเคลื่อนไหวด้วย Ultrasonic, ตรวจจับสัญญาณความร้อนด้วยคลื่นอินฟราเรด, เครื่องตรวจจับควัน หรือ แม้แต่เมาส์(Mouse)ก็เป็นเซ็นเซอร์แบบหนึ่ง ที่ใช้ตรวจจับตำแหน่งและระยะทางการเคลื่อนไหวของมือ